วิทยาลัยเทคโนโลยีบ้านจั่น

  • หน้าแรก
    • ทำเนียบผู้บริหาร
    • ประวัติสถานศึกษา
    • ปรัชญา/วิสัยทัศน์/พันธกิจ
    • เอกลักษณ์/อัตลักษณ์
  • ข้อมูลสถานศึกษา
    • ข้อมูลทั่วไป
    • ข้อมูลนักเรียน
    • ข้อมูลบุคลากร
    • ข้อมูลสถานที่
    • ข้อมูลหลักสูตร
  • SAR
    • 2563
      • รายงานการประเมินจากระบบ
      • แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
      • แผนปฎิบัติงานประจำปีการศึกษา
      • รายงานผลการประเมินตนเอง
      • งบดุล
      • หัวข้อประเมิน
        • ด้านผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษา
        • ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน
        • ด้านครูผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษา
        • ด้านการมีส่วนร่วม
        • ด้านปัจจัยพื้นฐาน
  • บริการสารสนเทศ
    • ตรวจสอบผลการเรียน
    • ตารางเรียน ตารางสอน
    • e-learning
      • โครงการ ปวส
      • โปรแกรมกราฟฟิก
        • พ.221
  • หน่วยงานภายใน
    • ฝ่ายบริหารทรัพยากร
      • การบริหารทั่วไป
      • งานเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
      • งานบุคลากร
      • งานการเงิน
      • งานบัญชี
      • งานอาคารสถานที่
      • งานพัสดุ
    • ฝ่ายแผนและความร่วมมือ
      • งานวางแผนละงานงบประมาณ
      • งานศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ
      • งานความร่วมมือ
      • งานวิจัยพัฒนา นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์
      • งานประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
      • งาน กยศ
      • งานส่งเสริมผลผลิต การค้า และการประกอบธุรกิจ
      • ฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียน/นักศึกษา
        • กิจกรรมนักเรียน นักศึกษา
        • งานครูที่ปรึกษา
        • งานปกครอง
        • งานแนะแนวอาชีพ
        • งานสวัสดิการนักเรียน นักศึกษา
        • งานโครงการพิเศษ
        • งานลูกเสือ
        • งาน อวท.
        • ฝ่ายวิชาการ
  • แผนกวิชาและSar ครู
    • แผนกการบัญชี
    • แผนกการตลาด
    • แผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
    • แผนกช่างยนต์
    • แผนกช่างอิเล็กทรอนิกส์
    • แผนกช่างไฟฟ้า
    • แผนกวิชาสามัญ
  • เอกสารดาวโหลด
    • งานทะเบียน
    • งานวิชาการ
No Result
View All Result
No Result
View All Result
  • หน้าแรก
    • ทำเนียบผู้บริหาร
    • ประวัติสถานศึกษา
    • ปรัชญา/วิสัยทัศน์/พันธกิจ
    • เอกลักษณ์/อัตลักษณ์
  • ข้อมูลสถานศึกษา
    • ข้อมูลทั่วไป
    • ข้อมูลนักเรียน
    • ข้อมูลบุคลากร
    • ข้อมูลสถานที่
    • ข้อมูลหลักสูตร
  • SAR
    • 2563
      • รายงานการประเมินจากระบบ
      • แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
      • แผนปฎิบัติงานประจำปีการศึกษา
      • รายงานผลการประเมินตนเอง
      • งบดุล
      • หัวข้อประเมิน
        • ด้านผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษา
        • ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน
        • ด้านครูผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษา
        • ด้านการมีส่วนร่วม
        • ด้านปัจจัยพื้นฐาน
  • บริการสารสนเทศ
    • ตรวจสอบผลการเรียน
    • ตารางเรียน ตารางสอน
    • e-learning
      • โครงการ ปวส
      • โปรแกรมกราฟฟิก
        • พ.221
  • หน่วยงานภายใน
    • ฝ่ายบริหารทรัพยากร
      • การบริหารทั่วไป
      • งานเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
      • งานบุคลากร
      • งานการเงิน
      • งานบัญชี
      • งานอาคารสถานที่
      • งานพัสดุ
    • ฝ่ายแผนและความร่วมมือ
      • งานวางแผนละงานงบประมาณ
      • งานศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ
      • งานความร่วมมือ
      • งานวิจัยพัฒนา นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์
      • งานประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
      • งาน กยศ
      • งานส่งเสริมผลผลิต การค้า และการประกอบธุรกิจ
      • ฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียน/นักศึกษา
        • กิจกรรมนักเรียน นักศึกษา
        • งานครูที่ปรึกษา
        • งานปกครอง
        • งานแนะแนวอาชีพ
        • งานสวัสดิการนักเรียน นักศึกษา
        • งานโครงการพิเศษ
        • งานลูกเสือ
        • งาน อวท.
        • ฝ่ายวิชาการ
  • แผนกวิชาและSar ครู
    • แผนกการบัญชี
    • แผนกการตลาด
    • แผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
    • แผนกช่างยนต์
    • แผนกช่างอิเล็กทรอนิกส์
    • แผนกช่างไฟฟ้า
    • แผนกวิชาสามัญ
  • เอกสารดาวโหลด
    • งานทะเบียน
    • งานวิชาการ
วิทยาลัยเทคโนโลยีบ้านจั่น
No Result
View All Result
  • หน้าแรก
  • ข้อมูลนักเรียน
  • ข้อมูลบุคลากร
  • ข้อมูลสถานที่
  • ข้อมูลหลักสูตร
  • ตรวจสอบผลการเรียน
  • ตารางเรียน ตารางสอน
  • ข้อมูลทั่วไป
  • Sar All Teacher
  • ข้อมูลสถานศึกษา
  • เอกสารดาวโหลด
  • บริการสารสนเทศ
  • e-learning
  • หน่วยงานภายใน

รายงานการประเมินตนเอง ปีการศึกษา 2563

solamon by solamon
มกราคม 11, 2022
in SAR
0
783
SHARES
3.7k
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter

มาตรฐานที่ 1 คุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์คำอธิบาย :

        การจัดการอาชีวศึกษา เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาให้มีความรู้ มีทักษะและการประยุกต์ใช้เป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับการศึกษา และมีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์

ประกอบด้วยประเด็นการประเมิน ดังนี้


1) ผลสัมฤทธิ์1. ด้านความรู้

       ผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษามีความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริง ตามหลักการ ทฤษฏี และแนวปฏิบัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่เรียน หรือทำงาน โดยเน้นความรู้เชิงทฤษฏี และหรือข้อเท็จจริง เป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับการศึกษา
       ผลการประเมิน 
1. ผลการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ  มีผลประเมินคิดเป็นร้อยละ 91.85  ค่าคะแนน 5  ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
2. ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET)  

1.6.ผลการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ      ดูข้อมูล  


2. ด้านทักษะและการประยุกต์ใช้

       ผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษามีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ทักษะวิชาชีพ และทักษะชีวิตเป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับการศึกษา สามารถประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน และการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีสุขภาวะที่ดี
       ผลการประเมิน
1. ผู้เรียนมีสมรรถนะในการเป็นผู้ประกอบการหรือการประกอบอาชีพอิสระ  มีผลประเมินคิดเป็นร้อยละ 44.01  ค่าคะแนน 1  ระดับคุณภาพ กำลังพัฒนา
2. ผลการแข่งขันทักษะวิชาชีพ  มีผลประเมินตามข้อ 1 ค่าคะแนน 1  ระดับคุณภาพ กำลังพัฒนา

1.3.ผู้เรียนมีสมรรถนะในการเป็นผู้ประกอบการหรือประกอบอาชีพอิสระ      ดูข้อมูล      
1.5.ผลการแข่งขันทักษะวิชาชีพ       ดูข้อมูล      


3. ด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์

       ผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษามีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ เจตคติและกิจนิสัยที่ดี ภูมิใจและรักษาเอกลักษณ์ของชาติไทย เคารพกฎหมาย เคารพสิทธิของผู้อื่น มีความรับผิดชอบตามบทบาทหน้าที่ของตนเองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีจิตสาธารณะ และมีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม
       ผลการประเมิน
1. การดูแลและแนะแนวผู้เรียน  มีผลประเมินคิดเป็นร้อยละ 82.19  ค่าคะแนน 5  ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
2. ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์  มีผลประเมินตามข้อ  5  ค่าคะแนน 5 ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
3. การมีงานทำและศึกษาต่อของผู้สำเร็จการศึกษา มีผลประเมินคิดเป็นร้้อยละ 78.87  ค่าคะแนน 4   ระดับคุณภาพ ดีเลิศ

1.2.ผู้เรียนที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ดูข้อมูล      
1.1.การดูแลและแนวแนวผู้เรียน ดูข้อมูล      
1.8.การมีงานทำและศึกษาต่อของผู้สำเร็จการศึกษา ดูข้อมูล      


2) จุดเด่น

     2.1 จุดเด่นของการพัฒนาคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์ ด้านความรู้
 	 2.1.1  ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในสาขาที่ศึกษา
 	 2.1.2 ผู้เรียนมีความรู้ในสาขาที่เรียนและสามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพได้
	 2.1.3 ผู้เรียนมีความเข้าใจในการสร้างนวัตกรรม งานวิจัยตามสาขาที่เรียน
    2.2 จุดเด่นของการพัฒนาคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์ ด้านทักษะและการประยุกต์ใช้
	 2.2.1 ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ศึกษาตามสาขาวิชาไปใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 	 2.2.2 ผู้เรียนมีทักษะในวิชาปฏิบัติ เช่น งานคอมพิวเตอร์ งานไฟฟ้ากำลัง งานอิเล็กทรอนิกส์ งานช่างยนต์ เมื่อจบการศึกษาแล้วสามารถทำงานได้ทัน
	 2.2.3 ผู้เรียนมีความสามารถในการศึกษาวิจัยตามสาขาและพัฒนาหรือสร้างเป็นนวัตกรรมเพื่อใช้ประโยชน์ได้
    2.3 จุดเด่นของการพัฒนาคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์ ด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณ์ที่พึงประสงค์
	 2.3.1 ผู้เรียนมีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ และเสียสละเพื่อส่วนรวมทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นกัลยานมิตร 
 	 2.3.2 ผู้เรียนมีความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อครู อาจารย์และผู้ใหญ่
	 2.3.3 ผู้เรียนเคารพกฎระเบียบและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างเป็นกัลยานมิตร

3) จุดที่ควรพัฒนา

     3.1 จุดที่ควรพัฒนาคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์ ด้านความรู้
	 3.1.1 ควรเพิ่มสมรรถนะรายวิชาที่จำเป็นและสอดคล้องกับตลาดแรงงาน
 	 3.1.2 ควรเพิ่มความรู้ด้านภาษาต่างประเทศที่จำเป็นต้องใช้ในสาขางาน
	 3.1.3 ควรเพิ่มทรัพยากรแหล่งเรียนรู้ผู้มีภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาให้ความรู้ตามสาขางาน
     3.2 จุดที่ควรพัฒนาคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์ ด้านทักษะและการประยุกต์ใช้
	 3.2.1 ควรส่งเสริมกิจกรรมในการบริการวิชาการ บริการชุมชน ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
 	 3.2.2 ควรติดตาม และวิจัย การฝึกงานของนักศึกษาทวิภาคีเพื่อจะได้หากแนวทางในการเพิ่มทักษะในการทำงานให้ตรงตามสาขาวิชาที่ศึกษามากขึ้น
	 3.2.3 ควรส่งเสริมการเรียนการสอนร่วมกับชุมชน โดยการทำโครงการสร้างนวัตกรรม หรือการทำวิจัยร่วมกับชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
    3.3 จุดที่ควรพัฒนาคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์ ด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณ์ที่พึงประสงค์
	 3.3.1 ควรให้ความรู้เกี่ยวกับทัศนคติในการเปลี่ยนแปลงสังคมในด้านวัฒนธรรมให้นักศึกษาได้เข้าใจอยู่ตลอดเวลา
 	 3.3.2 ควรให้ความรู้เกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม ที่เปลี่ยนแปลงในสังคมแก่นักศึกษาตลอดเวลา
	 3.3.3 ควรเพิ่มความรู้ด้านการเมืองการปกครองให้แก่นักศึกษาได้เข้าความเป็นไทย

4) ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา

     4.1 ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์ ด้านความรู้
	 4.1.1 สาขาที่เป็นภาคปฏิบัติควรเพิ่มสมรรถนะรายวิชาที่จำเป็นและสอดคล้องกับตลาดแรงงานให้กับนักศึกษามากขึ้น
 	 4.1.2 สถานศึกษาควรเพิ่มหลักสูตรภาษาต่างประเทศและครูภาษาต่างประเทศที่จำเป็นต้องใช้ในสาขางานของนักศึกษา
	 4.1.3 สถานศึกษาควรเสริมหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นและเชิญครูภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาให้ความรู้ตามสาขางานแก่สถานศึกษา	
    4.2 ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์ ด้านทักษะและการประยุกต์ใช้
	 4.2.1 สถานศึกษาควรส่งเสริมกิจกรรมในการบริการวิชาการ บริการชุมชน ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
 	 4.2.2 สถานศึกษาควรติดตาม และวิจัย การฝึกงานของนักศึกษาทวิภาคีเพื่อจะได้หากแนวทางในการเพิ่มทักษะในการทำงานให้ตรงตามสาขาวิชาที่ศึกษามากขึ้น
	 4.2.3 สถานศึกษาควรส่งเสริมการเรียนการสอนร่วมกับชุมชน โดยการทำโครงการสร้างนวัตกรรม หรือการทำวิจัยร่วมกับชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
    4.3 ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์ ด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณ์ที่พึงประสงค์
	 4.3.1 สถานศึกษาควรให้ความรู้เกี่ยวกับทัศนคติ ด้านสังคม ประเพณี ศิลปะและวัฒนธรรม ในการเปลี่ยนแปลงสังคมให้นักศึกษาได้เข้าใจอยู่ตลอดเวลาเพื่อจะได้อยู่ร่วมกับสังคมไทยอย่างปกติสุข
 	 4.3.2 สถานศึกษาควรให้ความรู้เกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม ที่เปลี่ยนแปลงในสังคมแก่นักศึกษาตลอดเวลาโดยการจัดกิจกรรมคุณธรรม จริยธรรมให้ถี่ขึ้น
	 4.3.3 สถานศึกษาควรเพิ่มความรู้ด้านการเมืองการปกครองให้แก่นักศึกษาได้เข้าความเป็นไทยเพื่อประโยชน์ หน้าที่ และสิทธิของนักศึกษาที่อยู่ในสังคม


มาตรฐานที่ 2 การจัดการอาชีวศึกษาคำอธิบาย :

        สถานศึกษามีครูที่มีคุณวุฒิการศึกษาและจำนวนตามเกณฑ์ที่กำหนด ใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และบริหารจัดการทรัพยากรของสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ มีความสำเร็จในการดำเนินการตามนโยบายสำคัญของหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลสถานศึกษา

ประกอบด้วยประเด็นการประเมิน ดังนี้


1) ผลสัมฤทธิ์1. ด้านหลักสูตรอาชีวศึกษา

 1. การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะอย่างเป็นระบบ  มีผลประเมินตามข้อ 1,2,3,4,5  ค่าคะแนน  5  ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
 2. การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะหรือปรับปรุงรายวิชา หรือปรับปรุงรายวิชาเดิม หรือกำหนดรายวิชาเพิ่มเติม   มีผลการประเมินร้อยละ100  ค่าคะแนน 5  ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม

2.1.1 การพัฒนาหลักสูตรและฐานสมรรถนะอย่างเป็นระบบ ดูข้อมูล      
2.1.2 การพัฒนาหลักสูตรและฐานสมรรถนะ หรือปรับปรุงรายวิชา หรือปรับปรุงรายวิชาเดิม หรือกำหนดรายวิชาเพิ ดูข้อมูล      


2. ด้านการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา

       สถานศึกษาใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ชุมชน สถานประกอบการ ตลาดแรงงาน มีการปรับปรุงรายวิชาเดิม หรือกำหนดรายวิชาใหม่ หรือกลุ่มวิชาเพิ่มเติมให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและความต้องการของตลาดแรงงาน โดยความร่วมมือกับสถานประกอบการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
       ผลการประเมิน
1. คุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ  มีผลประเมินตามข้อ 1,2,3,4,5  ค่าคะแนน 5  ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม
2. การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน  มีผลประเมินคิดเป็นร้อยละ 100  ค่าคะแนน 5  ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม
3. การจัดการเรียนการสอน  มีผลประเมินคิดเป็นร้อยละ 97.56  ค่าคะแนน 5  ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม 
4. การบริหารจัดการชั้นเรียน   มีผลประเมินคิดเป็นร้อยละ 100  ค่าคะแนน 5  ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม
5. การพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ  มีผลประเมินคิดเป็นร้อยละ 60.98  ค่าคะแนน 3  ระดับคุณภาพดี
6. การเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน   มีผลประเมินคิดเป็นร้อยละ  40 ค่าคะแนน 1  ระดับคุณภาพกำลังพัฒนา

2.2.1.คุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ ดูข้อมูล      
2.2.2.การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และนำไปใช้ในการจัดการเรียนกา ดูข้อมูล      
3.1.1.การจัดการเรียนการสอน ดูข้อมูล      
3.1.2.การบริหารจัดการชั้นเรียน ดูข้อมูล      
3.1.3.การพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ ดูข้อมูล      
5.5.การเข้าถึงระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน ดูข้อมูล      


3. ด้านการบริหารจัดการ

       สถานศึกษาบริหารจัดการบุคลากร สภาพแวดล้อม ภูมิทัศน์ อาคารสถานที่ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ โรงฝึกงาน ศูนย์วิทยบริการ สื่อ แหล่งเรียนรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ ครุภัณฑ์ และงบประมาณของสถานศึกษาที่มีอยู่อย่างเต็มศักยภาพและมีประสิทธิภาพ
       ผลการประเมิน
1. การบริหารจัดการระบบฐานข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษา มีผลการประเมินตามข้อ 1,2,3, ค่าคะแนน 3  ระดับคุณภาพ ดี
2. อาคารสถานที่ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ โรงฝึกงานหรืองานฟาร์ม  มีผลการประเมินตามข้อ 1,2,3,4,5 ค่าคะแนน 5  ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
3. ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน  มีผลการประเมินตามข้อ 1,2,3,4,5 ค่าคะแนน 5  ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
4. แหล่งเรียนรู้และศูนย์วิทยบริการ  มีผลการประเมินตาม 3 ข้อ  ค่าคะแนน 3  ระดับคุณภาพ ดี
5. ระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อการใช้งานด้านสารสนเทศภายในสถานศึกษา  มีผลการประเมินตาม 3 ข้อ  ค่าคะแนน 3  ระดับคุณภาพ ดี  

3.2.2.การบริหารจัดการระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษา  ดูข้อมูล      
5.1.อาคารสถานที่ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ โรงฝึกงาน หรืองานฟาร์ม  ดูข้อมูล      
5.2.ระบบสาธารณูปโภค  ดูข้อมูล      
5.3.แหล่งเรียนรู้และศูนย์วิทยบริการ  ดูข้อมูล      
5.4.ระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อการใช้งานด้านสารสนเทศภายในสถานศึกษา  ดูข้อมูล      


4. ด้านการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ

        สถานศึกษามีความสำเร็จในการดำเนินการบริหารจัดการสถานศึกษา ตามนโยบายสำคัญที่หน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลสถานศึกษามอบหมาย โดยความร่วมมือของผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษาและผู้เรียน รวมทั้งการช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุนจากผู้ปกครอง ชุมชน สถานประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
       ผลการประเมิน
1. การจัดการอาชีวศึกษาสู่ระบบทวิภาคี  มีผลประเมินครบถ้วน ตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1,2,3  มีค่าคะแนน 3  ระดับคุณภาพ ดี

4.1.การจัดการศึกษาระบบทวิภาคี  ดูข้อมูล      


2) จุดเด่น

     2.1 จุดเด่นของการพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาด้านหลักสูตรอาชีวศึกษา 
 	 2.1.1 สถานศึกษามีการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการอาชีวศึกษาของสำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ
 	 2.1.2 สถานศึกษามีการดำเนินการศึกษาความต้องการของตลาดแรงงานเพื่อเตรียมความพร้อมของการพัฒนาหลักสูตร
 	 2.1.3 สถานศึกษามีการดำเนินการพัฒนาเตรียมความพร้อมในการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน
     2.2 จุดเด่นของการพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา
	 2.2.1 ครูผู้สอนมีการจัดการเรียนการสอนโดยการบูรณาการคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่ผู้เรียนต้องมี
 	 2.2.2 ครูผู้สอนมีจัดการแผนการสอนโดยกำหนดรูปแบบการเรียนรู้สู่การปฏิบัติที่หลากหลายให้แก่ผู้เรียน
 	 2.2.3 ครูผู้สอนมีการนำแผนการสอนมาใช้สอนจริงและบันทึกหลังการสอนเพื่อใช้เป็นแนวทางการพัฒนาในคราวต่อไป
	 2.2.4 ครูผู้สอนนำบันทึกหลังสอนไปจัดทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของนักศึกษา
 	 2.2.5 แผนการสอนได้รับการประเมินจากคณะกรรมการทุกภาพการศึกษา
         2.2.6 ครูผู้สอนมีงานวิจัยในชั้นเรียนทุกปีการศึกษา
     2.3 จุดเด่นของการพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษา ด้านการบริหารจัดการ
 	 2.3.1 ครูผู้สอนมีการจัดทำข้อมูลผู้เรียนเป็นรายบุคคล
 	 2.3.2 ครูผู้สอนมีเอกสารประจำชั้นเรียนและรายวิชาที่สอนเป็นปัจจุบัน
 	 2.3.3 ครูผู้สอนมีระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนเป็นรายบุคคลด้านการเรียนการสอนและเรื่องอื่น ๆ
     2.4 จุดเด่นของการพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษา ด้านการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ
	 2.4.1 สถานศึกษามีการดำเนินการศึกษาความต้องการของตลาดแรงงานเพื่อเตรียมความพร้อมของการพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและในจังหวัดอุดรธานี
 	 2.4.2 ครูผู้สอนมีการนำแผนการสอนมาใช้สอนจริงและบันทึกหลังการสอนเพื่อใช้เป็นแนวทางการพัฒนาในคราวต่อไป
 	 2.4.3 ครูผู้สอนมีการจัดทำข้อมูลผู้เรียนเป็นรายบุคคลเพื่อให้สามารถเข้าถึงนักศึกษาและเข้าใจในภาพความเป็นอยู่ซึ่งมีผลกระทบต่อการศึกษาของนักศึกษาเป็นรายบุคคลมากขึ้น

3) จุดที่ควรพัฒนา

     3.1 จุดที่ควรพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษา ด้านหลักสูตรอาชีวศึกษา 
	 3.1.1 ควรมีการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะในสาขางานหรือวิชาร่วมกับสถานประกอบการ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือพร้อมใช้นักศึกษา
 	 3.1.2 สถานศึกษาควรมีแผนการพัฒนาหลักสูตรสมรรถนะของสาขาวิชา
 	 3.1.3 ควรมีการทบทวนความเป็นไปได้ของตลาดแรงงานในชุมชนท้องถิ่นที่มีความต้องการแรงงาน เพื่อใช้ในการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรรถนะให้สอดคล้องกับชุมชนท้องถิ่น
     3.2 จุดที่ควรพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา
	 3.2.1 ควรมีการจัดทำแผนการเรียนรู้ใช้สื่อ หรือเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอน 
 	 3.2.2 ควรปรับปรุงแผนการสอนและพัฒนาแผนการสอนให้เข้ากับบริบทของสถานศึกษา และบริบทของชมชน เพื่อจะได้เอื้อต่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
 	 3.2.3  ควรมีการจัดทำแผนการสอนให้ครบทุกรายวิชาที่สอน ของครูแต่ละคน
     3.3 จุดที่ควรพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษา ด้านการบริหารจัดการ
	 3.3.1 ควรติดตามความเป็นอยู่ของนักศึกษารายบุคคลเป็นประจำทุกเดือนเพื่อการช่วยเหลือสำหรับนักศึกษาที่มีความเดือดร้อนบางประการลดปัญหาการออกกลางคันของนักศึกษา
 	 3.3.2 ควรมีการเสริมแรงจูงใจให้ผู้เรียนมีความสนใจเรียน เพื่อประสิทธิภาพในการสอนของครูผู้สอน
 	 3.3.3 ควรมีแผนพัฒนาตนเองของครูผู้สอนเพื่อคุณภาพของการนำความรู้ที่ได้จากการพัฒนาตนเองมาใช้ในการเรียนการสอน
     3.4 จุดที่ควรพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษา ด้านการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ
 	 3.4.1  สถานศึกษาควรมีแผนการพัฒนาหลักสูตรสมรรถนะของสาขาวิชาที่สามารถเป็นไปได้และสอดคลอ้องกับความต้องการตลาดแรงงานของท้องถิ่นและประเทศ
 	 3.4.2 สถานศึกษาความมีแผนการปรับปรุงเรื่อง แผนการสอนและพัฒนาแผนการสอนให้เข้ากับบริบทของสถานศึกษา และบริบทของชมชน เพื่อจะได้เอื้อต่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
 	 3.4.3 สถานศึกษาควรมีแผนการติดตามความเป็นอยู่ของนักศึกษารายบุคคลเป็นประจำทุกเดือนเพื่อการช่วยเหลือสำหรับนักศึกษาที่มีความเดือดร้อนบางประการลดปัญหาการออกกลางคันของนักศึกษา พร้อมทั้งรายงานปัญหาให้สถานศึกษาทราบรายเดือนหรือภาคการศึกษา

4) ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา

    4.1 ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษา ด้านหลักสูตรอาชีวศึกษา 
	 4.1.1 สถานศึกษาควรมีแผนการการดำเนินการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะแล้วดำเนินการตามกระบวนการตามบริบทของสถานศึกษา
	 4.1.2 สถานศึกษาควรเสนอแนวทางให้กับสาขาวิชาเพื่อทำการสำรวจความต้องการของตลาดแรงงานเพื่อพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะประจำรายวิชาที่มีความเป็นไปได้และสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา
 	 4.1.3 สถานศึกษาควรติดตาม ประเมินผล และปรับปรุงหลักสูตรสมรรถนะที่ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องและให้เป็นรูปธรรมตรงกับความเป็นจริงในการสภาพของสาขาวิชา
     4.2 ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาด้านการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา
	 4.2.1 สถานศึกษาควรมีการจัดหาทรัพยากรที่เพียงพอให้แก่ครูผู้สอน เพื่อให้สามารถจัดทำแผนการเรียนรู้ใช้สื่อ หรือเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 	 4.2.2 สถานศึกษาควรเชิญผู้เชี่ยวชาญในด้านการจัดทำและพัฒนาแผนการสอนให้แก่ครูผู้สอน เพื่อที่ครูผู้สอนจะได้มีความสามารถปรับปรุงแผนการสอนและพัฒนาแผนการสอนให้เข้ากับบริบทของสถานศึกษา และบริบทของชมชน เพื่อจะได้เอื้อต่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
 	 4.2.3 สถานศึกษาควรมีนโยบายที่ส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัดทำแผนการสอนให้ครบทุกรายวิชาที่สอน ของครูแต่ละคน อาจเป็นการให้ส่งเสริมขวัญและกำลังใจในด้านใดด้านหนึ่งแก่ครูผู้สอนในการจัดทำแผนการสอน
     4.3 ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษา ด้านการบริหารจัดการ
	 4.3.1  สถานศึกษาควรกำหนดนโยบายให้มีระบบติดตามความเป็นอยู่ของนักศึกษารายบุคคลเป็นประจำทุกเดือนเพื่อการช่วยเหลือสำหรับนักศึกษาที่มีความเดือดร้อนบางประการลดปัญหาการออกกลางคันของนักศึกษา
 	 4.3.2  สถานศึกษาควรอบรมเทคนิคการสอนเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับนักศึกษา เพื่อให้ครูผู้สอนได้จัดทำแผนการสอนที่มีการเสริมแรงจูงใจให้ผู้เรียนมีความสนใจเรียน เพื่อประสิทธิภาพในการสอนของครูผู้สอน
 	 4.3.3 สถานศึกษาควรมีแผนและสร้างแรงจูงให้แก่ครูผู้สอนเพื่อพัฒนาตนเองยกระดับคุณภาพของการนำความรู้ที่ได้จากการพัฒนาตนเองมาใช้ในการเรียนการสอน
    4.4 ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษา ด้านการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ
 	 4.4.1 สถานศึกษาควรมีแผนการพัฒนาหลักสูตรสมรรถนะของสาขาวิชาที่สามารถเป็นไปได้และสอดคลอ้องกับความต้องการตลาดแรงงานของท้องถิ่นและประเทศ
 	 4.4.2 สถานศึกษาความมีแผนการปรับปรุงเรื่อง แผนการสอนและพัฒนาแผนการสอนให้เข้ากับบริบทของสถานศึกษา และบริบทของชมชน เพื่อจะได้เอื้อต่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพของครูผู้สอน
 	 4.4.3 สถานศึกษาควรมีแผนการติดตามความเป็นอยู่ของนักศึกษารายบุคคลเป็นประจำทุกเดือนเพื่อการช่วยเหลือสำหรับนักศึกษาที่มีความเดือดร้อนบางประการลดปัญหาการออกกลางคันของนักศึกษา พร้อมทั้งรายงานปัญหาให้สถานศึกษาทราบรายเดือนหรือภาคการศึกษา


มาตรฐานที่ 3 การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้คำอธิบาย :

        สถานศึกษาร่วมมือกับบุคคล ชุมชน องค์กรต่าง ๆ เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ มีการจัดทำนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ งานวิจัย

ประกอบด้วยประเด็นการประเมิน ดังนี้


1) ผลสัมฤทธิ์1. ด้านความร่วมมือในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

       สถานศึกษามีการสร้างความร่วมมือกับบุคคล ชุมชน องค์กรต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศในการจัดการศึกษา การจัดทรัพยากรทางการศึกษา กระบวนการเรียนรู้ การบริการทางวิชาการและวิชาชีพ โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาผู้เรียนและคนในชุมชนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้
       ผลการประเมิน
1. การบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม  มีผลการประเมินตามข้อ 1,2,3,4  ค่าคะแนน 4  ระดับคุณภาพ ดีเลิศ
2. การระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการเรียนการสอน  มีผลการประเมินตามข้อ 1,2,  ค่าคะแนน 2  ระดับคุณภาพ ปานกลาง
3. การบริการชุมชนและจิตอาสา  มีผลการประเมินตาม  5  ข้อ  ค่าคะแนน 5  ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม

        
       

3.2.1.การบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม  ดูข้อมูล      
4.2.การระดมทรัพยากรเพื่อจัดการเรียนการสอน  ดูข้อมูล      
4.3.การบริการชุมชนและจิตอาสา  ดูข้อมูล      


2. ด้านนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ งานวิจัย

       สถานศึกษาส่งเสริมสนับสนุนให้มีการจัดทำนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ งานวิจัย โดยผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้เรียน หรือร่วมกับบุคคล ชุมชน องค์กรต่าง ๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์ และเผยแพร่สู่สาธารณชน
       ผลการประเมิน
1. ผลงานของผู้เรียนด้านนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัย มีผลการประเมินตามข้อ 1  ค่าคะแนน 1  ระดับคุณภาพ  กำลังพัฒนา

1.4.ผลงานของผู้เรียนด้านนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัย  ดูข้อมูล      


2) จุดเด่น

     2.1 จุดเด่นของการพัฒนาการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ด้านความร่วมมือในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
	 2.1.1 สถานศึกษามีความพร้อมในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี 
 	 2.1.2 สถานศึกษามีระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อใช้ในการบริหารจัดการทั้งภายในและภายนอกสถาบัน
 	 2.1.3 สถานศึกษาสนับสนุนให้แต่ละสาขาจัดทำโครงการบริการชุมชนต่อชุมชน
     2.2 จุดเด่นของการพัฒนาการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ด้านนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ งานวิจัย
	 2.2.1 สถานศึกษาสนับสนุนกิจกรรมประกวดผลงานนวัตกรรม หรืองานวิจัยของนักศึกษาเป็นประจำทุกปี
 	 2.2.2 ครูผู้สอนมีผลงานวิจัยที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนเป็นรายบุคคล

3) จุดที่ควรพัฒนา

     3.1 จุดที่ควรพัฒนาการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ด้านความร่วมมือในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
	 3.1.1 ควรมีระบบบริหารจัดการฐานข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา
 	 3.1.2 ควรมีระบบบริหารจัดการฐานข้อมูลทะเบียนของนักเรียนนักศึกษา
 	 3.1.3 สถานศึกษาควรมีเว็บไซต์ของสถานศึกษา
     3.2 จุดที่ควรพัฒนาการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ด้านนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ งานวิจัย
	 3.2.1 ควรมีการเผยแพร่บทความหรือบทคัดย่อของวิจัยของนักศึกษาผ่านเว็บไซต์ตามกลุ่มที่ศึกษา 
 	 3.2.2 ควรมีการเผยแพร่บทความหรือบทคัดย่อของวิจัยของครูผ่านเว็บไซต์เป็นรายบุคคล

4) ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา

     4.1 ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ด้านความร่วมมือในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
	 4.1.1 สถานศึกษาควรมีระบบบริหารจัดการฐานข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษาเพื่อความสะดวกในการนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์  
 	 4.1.2 สถานศึกษาควรมีระบบบริหารจัดการฐานข้อมูลทะเบียนของนักเรียนนักศึกษาเพื่อความสะดวกในการค้นหาข้อมูลผลการเรียนของนักศึกษาในระบบฐานข้อมูล
 	 4.1.3 สถานศึกษาควรมีเว็บไซต์ของสถานศึกษาเพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานสะท้อนถึงคุณภาพของสถานศึกษา
     4.2 ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ด้านนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ งานวิจัย
	 4.2.1 สถานศึกษาควรมีระบบการเผยแพร่บทความหรือบทคัดย่อของวิจัยของนักศึกษาผ่านเว็บไซต์ตามกลุ่มที่ศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม
 	 4.2.2 สถานศึกษาควรมีระบบการเผยแพร่บทความหรือบทคัดย่อของวิจัยของครูผ่านเว็บไซต์เป็นรายบุคคลอย่างเป็นรูปธรรม

Advertisement Banner
Previous Post

สาขาการบัญชี

Next Post

โครงการ ปวส

Next Post

โครงการ ปวส

ใส่ความเห็น ยกเลิกการตอบ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

แนะนำ

  • หน้าแรก
  • ข้อมูลนักเรียน
  • ข้อมูลบุคลากร
  • ข้อมูลสถานที่
  • ข้อมูลหลักสูตร
  • ตรวจสอบผลการเรียน
  • ตารางเรียน ตารางสอน
  • ข้อมูลทั่วไป
  • Sar All Teacher
  • ข้อมูลสถานศึกษา
  • เอกสารดาวโหลด
  • บริการสารสนเทศ
  • e-learning
  • หน่วยงานภายใน

Tags

ครูใหม่ บ้านจั่น ประกวด ปวช. ปวส. รับสมัคร ลูกเสือ วิทยาลัยบ้านจั่น สมัครครู สมัครเรียน อวท. อวท.บ้านจั่น

หมวดหมู่

  • SAR
  • Uncategorized
  • กยศ.
  • กิจกรรมนักเรียน นักศึกษา
  • ข้อมูลสถานศึกษา
  • ข่าวประกาศ
  • บริการสารสนเทศ
  • ลูกเสือ
  • หน่วยงานภายใน
  • อวท.
  • เอกสารดาวโหลด
  • แผนกวิชา

แผนที่

  • หน้าแรก
  • ข้อมูลนักเรียน
  • ข้อมูลบุคลากร
  • ข้อมูลสถานที่
  • ข้อมูลหลักสูตร
  • ตรวจสอบผลการเรียน
  • ตารางเรียน ตารางสอน
  • ข้อมูลทั่วไป
  • Sar All Teacher
  • ข้อมูลสถานศึกษา
  • เอกสารดาวโหลด
  • บริการสารสนเทศ
  • e-learning
  • หน่วยงานภายใน

© วิทยาลัยเทคโนโลยีบ้านจั่น 2022

No Result
View All Result
  • หน้าแรก
  • ข้อมูลหลักสูตร
  • ข้อมูลสถานที่
  • ข้อมูลบุคลากร
  • ข้อมูลนักเรียน
  • ทำเนียบผู้บริหาร
  • เอกลักษณ์/อัตลักษณ์
  • ปรัชญา/วิสัยทัศน์/พันธกิจ
  • ประวัติสถานศึกษา
  • แผนกวิชาสามัญ
  • แผนกช่างไฟฟ้า
  • แผนกช่างอิเล็กทรอนิกส์
  • แผนกช่างยนต์
  • แผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • แผนกการตลาด
  • SAR

© วิทยาลัยเทคโนโลยีบ้านจั่น 2022

  • Login

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In